ตลาดเฉพาะที่ต้องการประสิทธิภาพสูงและการออกแบบที่เต็มพิกัด
เมื่อ Canon ต้องนำโมเดลกล้อง EOS 10D มาออกแบบใหม่ บริษัทฯ มีความคาดหวังสูงกับสินค้าใหม่นี้ เป้าหมายก็คือการสร้างกล้องที่ถ่ายภาพความละเอียดสูงและฉับไว ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อความละเอียดสูงขึ้นความไวจะลดลง แต่ Canon ต้องการให้กล้องตัวใหม่ EOS 20D นี้สามารถถ่ายภาพความละเอียดสูงได้ 5 ภาพต่อวินาที เป็นตัวอย่างหนึ่งของคำว่า “การออกแบบที่เต็มพิกัด” ซึ่งทำให้สินค้ามีความสามารถในการแข่งขันสูงและมีคุณค่าสูง ความท้าทายของ EOS 20D อีกอย่างหนึ่งก็คือรูปทรง การที่จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกดีเมื่อจับตัวกล้องจำเป็นต้องมี Ergonomic design ที่ดี และยังต้องมีความสง่างามและโดดเด่นเหนือคู่แข่งเมื่อวางบนชั้นแสดงสินค้า
ในการที่จะคว้าตลาดกลุ่มมือสมัครเล่นและมืออาชีพ Canon ต้องการพัฒนากล้องที่เร็วกว่ารุ่นก่อนหน้ามากๆ นั่นหมายถึงการเอาชนะอุปสรรค์พื้นฐาน เช่น การสื่อสารที่ผิดพลาดระหว่างฝ่ายออกแบบกับฝ่ายผลิตที่นำไปสู่ Engineering change และ rework นอกจากนั้นยังต้องการกระบวนการออกแบบที่ทำให้สามารถประเมินได้รวดเร็วเพื่อให้มั่นใจว่ากล้องตัวใหม่จะเป็นที่ต้องการของตลาดเป้าหมาย
Canon ตัดสินใจใช้ NX ในการสร้าง EOS 20D ทั้งโมเดลตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นของการออกแบบ เนื่องจากการทำ Ergonomic design จำเป็นต้องใช้ 3D CAD ในการออกแบบรูปทรงและ Surface ที่ซับซ้อนของตัวกล้อง ซึ่ง NX ยังสามารถทำให้ผู้ออกแบบสามารถเห็นทางเลือกของการออกแบบได้มากกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงการออกแบบสามารถทำได้รวดเร็วโดยใช้เพียงคำสั่งเดียว เช่นการเปลี่ยนค่า Diemension เป็นต้น การแสดงผลที่เสมือนจริงช่วยให้สามารถเห็นรายละเอียดของชิ้นงานที่ออกแบบได้ทุกมุมมอง
“มือจับของ EOS 20D บางกว่า ของ EOS 10D ประมาณ 3.5 มิลลิเมตร เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจับได้ถนัด เราใช้ History function ใน NX หลายครั้งเพื่อให้ได้รูปทรงที่ดีที่สุด” Masakazu Kumakura ตำแหน่ง Chief design กล่าว “นอกจากนั้น ฟีเจอร์ใหม่ของ EOS 20D ก็คือ Multicontroller ที่ช่วยให้เลือกตำแหน่งโฟกัสได้รวดเร็ว History function ก็สามารถช่วยให้เราสามารถเลือกตำแหน่งวาง Multicontroller ที่ดีที่สุดบนกล้องได้ เราเลือกจาก Design ที่แตกต่างกัน 12 – 13 แบบ ก่อนการตัดสินใจ”
มีการใช้ Rapid prototyping สร้างชิ้นงานเพื่อความรวดเร็วในการประเมินการออกแบบ ซึ่งในอดีต Canon จ้างบริษัทภายนอกในการทำต้นแบบ ซึ่งมีราคาแพงและใช้เวลามาก แต่ปัจจุบัน Canon ใช้ระบบ Rapid prototyping ของตนเอง ทำให้สามารถทำต้นแบบได้ง่ายและประหยัด ซึ่งการออกแบบรูปทรงของ Multicontroller ใช้ต้นแบบจำนวน 3 prototype
ต้นทุนลดลง พัฒนาได้เร็วขึ้น และได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีเยี่ยม
EOS 20D พัฒนาจาก Concept จนเข้าสู่การผลิตโดยใช้เวลาเพียงครึ่งเดียวจากเวลาที่เคยใช้ “มันเป็นไปไม่ได้เลยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เสร็จสิ้นภายใต้กำหนดเวลาที่สั้นมากเช่นนี้หากไม่ใช้ NX” Kumakura กล่าว เหตุผลหนึ่งที่วงจรการพัฒนาเร็วขึ้นก็เนื่องจากการสื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างฝ่ายออกแบบและฝ่ายผลิต “เมื่อก่อน การสื่อสารกับแผนกออกแบบ เราต้องทำMockup ขึ้นใหม่ใหม่หลายต่อหลายครั้ง” Tanaka กล่าว “ผลก็คือเกิดต้นทุนที่สูงมากเนื่องจากข้อมูลการออกแบบจาก NX สามารถเข้าถึงและสามารถส่งผลกลับได้ง่าย ทำให้การสื่อสารเพื่อพัฒนา EOS 20D ทำได้อย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็น NX เป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่โดดเด่น” การสื่อสารที่ดีขึ้นผนวกกับเครื่อง Rapid prototype ที่ราคาไม่แพง ผลที่ได้ก็คือต้นทุนในการพัฒนาที่ลดลงของ EOS 20D เมื่อเทียบกับโมเดลอื่นๆ
Canon บรรลุเป้าหมายในการสร้าง EOS 20D ที่ให้ภาพถ่ายความละเอียดสูงและสามารถตอบสนองได้อย่างฉับไว ตัวกล้องใช้ CMOS sensor ขนาดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ให้ภาพความละเอียด 8.2 ล้าน Pixel และ EOS 20D ยังใช้เวลาในการสตาร์ทเครื่องเพียง 0.2 วินาที และสามารถถ่ายภาพได้ 5 เฟรมต่อวินาที
กล้อง EOS 20D นี้วางตลาดในปี 2004 และประสบความสำเร็จในการขายทันที หลังจากเปิดตัวก็ได้รับออเดอร์ล้นหลามและขาด Stock ในบางพื้นที่ ด้วยการใช้ NX บริษัท Canonสามารถลดเวลาและต้นทุนได้ และยังสามารถสร้าง Prototype ได้มากขึ้น ผลก็คืองานออกแบบที่ดีขึ้นทุกด้าน
สรุปความจากบทความ “Canon” จาก Siemens PLM